ไนดาเรีย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ไนดาเรีย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 580–0Ma ยุคอีดีแอคารัน–ปัจจุบัน | |
---|---|
Sea nettles, Chrysaora quinquecirrha | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | ไนดาเรีย Hatschek, 1888 |
Classes | |
Anthozoa - ปะการังและดอกไม้ทะเล |
ไฟลัมไนดาเรีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cnidaria) หรือชื่อเดิมว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coelenterata) เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโต และที่หลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์บางชนิดในกลุ่มนี้จะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และบางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน
ลักษณะโดยทั่วไป
[แก้]- มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น (Diploblastica) คือ เอ็กโทเดิร์ม (Ectodrem) และเอนโดเดิร์ม (Endoderm) โดยที่ระหว่าง 2 ชั้นดังกล่าวมีลักษณะคล้ายวุ้น ที่เรียกว่า "มีโซเกลีย" (Mesoglea) ชั้นนอก-เอพิเดอร์มิส (Epidermis) ชั้นมีโซเกลีย (Measoglea) และชั้น แกสโตรเดอร์มิส (Glastrodermis) ตามลำดับ
- รูปร่างทรงกระบอก หรือ ทรงร่ม สมมาตรรัศมี
- มีช่องว่างในลำตัวที่เรียกว่า "ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์" (Gastrovascular Cavity) เสมือนระบบย่อยอาหารและระบบหมุนเวียนสาร
- ทางเดินอาหารแบบช่องเดียว (One-hole sac) มีการย่อยอาหารภายในเซลล์ (Intracellular digestion) เกิดขึ้นที่ชั้นแกสโตรเดอร์มิส
- มีหนวดหรือ เทนตาเคิล (Tentacle) อยู่รอบปาก มีเซลล์ "นิโดไซต์" (Cnidocyte) แทรกอยู่ที่เทนตาเคิล และตามผนังลำตัว มนถึงของเซลล์นิโดไซท์นั้น
- มีเข็มพิษเรียก นีมาโตซีสต์ (Nematocyst) ใช้สำหรับแทงเหยื่อ โดยเหยื่อผู้เคราะห์ร่ายอาจตายหรือเป็นอัมพาตได้
- ระบบประสาทเป็นแบบร่างแห (Nerve Net) คือเซลล์ประสาทที่เชื่องโยงกันทั่วตัวยังไม่มีการรวมกลุ่มของเซลล์ประสาทเป็นปมประสาท (Ganglion)
การจัดจำแนก
[แก้]- ชั้นไฮโดรซัว มีรูปร่างคล้ายต้นไม้ ระยะที่เป็นรูปกระดิ่งคว่ำมีขนาดเล็ก เช่น ไฮดรา แมงกะพรุนน้ำจืด แมงกะพรุนลอย แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis)
- ชั้นไซโฟซัว ตัวอ่อนรูปร่างแบบต้นไม้ ตัวเต็มวัยคล้ายกระดิ่งคว่ำขนาดใหญ่ เช่น แมงกะพรุนไฟ (Tamoya sp.) แมงกะพรุนจาน
- ชั้นแอนโทซัว มีรูปร่างแบบต้นไม้ตลอดชีวิต เช่น ปะการังนิ่ม กะละปังหา ปากกาทะเล ดอกไม้ทะเล ปะการังดอกเห็ด ปะการังเขากวาง