กูกอล
กูกอล (ไทย: googol) หมายถึง จำนวนมหาศาล (large number) จำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ 10100 นั่นคือมีเลข แล้วตามด้วยเลข อีก 100 ตัวใน หรือเท่ากับ
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำนี้ถูกกำหนดขึ้นใน ค.ศ. 1920 โดยเด็กอายุ 9 ขวบชื่อว่า มิลทัน ซิรอตทา (Milton Sirotta) หลานชายของนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน เอดเวิร์ด แคสเนอร์ (Edward Kasner)[1] ซึ่งแคสเนอร์เป็นคนเสนอแนวความคิดนี้ให้เป็นที่รู้จักในหนังสือ Mathematics and the Imagination (คณิตศาสตร์กับจินตนาการ)
กูกอลมีอันดับของปริมาณ (order of magnitude) เท่ากับแฟกทอเรียลของ 70 (70! ≈ 1.198 กูกอล ≈ 10100.0784) และตัวประกอบเฉพาะของกูกอลก็มีเพียง 2 กับ 5 เป็นจำนวน 100 คู่ สำหรับเลขฐานสองต้องใช้ถึง 333 บิตในการบันทึกค่านี้
กูกอลมักไม่มีนัยสำคัญในทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ แต่ก็อาจมีประโยชน์เมื่อใช้เปรียบเทียบกับปริมาณมหาศาลอื่นๆ เช่น จำนวนอนุภาคภายในอะตอมในเอกภพที่มองเห็น หรือจำนวนความน่าจะเป็นทั้งหมดของการเล่นหมากรุก แคสเนอร์สร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างจำนวนมหาศาลกับอนันต์
กูเกิล (Google) ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อของจำนวนนี้ แลร์รี เพจ (Larry Page) หนึ่งในผู้ก่อตั้งกูเกิลกล่าวว่า เขาหลงใหลในคณิตศาสตร์และจำนวนกูกอล แต่เขาก็ตั้งชื่อเว็บไซต์เป็น "กูเกิล" ด้วยเหตุที่ว่าเขาสะกดชื่อผิด[2][3]
กูกอลที่หดเล็กลง
[แก้]ในขณะที่คำนี้ได้เผยแพร่ออกไปใน ค.ศ. 1920 กูกอลจึงดูเหมือนจำนวนมหาศาลที่หาค่าเปรียบมิได้ แต่ปัจจุบันการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่เร็วขึ้นและการคิดค้นขั้นตอนวิธีให้คำนวณเร็วขึ้น การคำนวณในระดับจำนวนกูกอลจึงสามารถทำได้เป็นนิจ แม้แต่ปัญหาที่ยากยิ่งในการแยกตัวประกอบเฉพาะของตัวเลขจำนวน 100 หลักก็สามารถทำได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มค่าขึ้นหรือการลดค่าลงทีละกูกอลนั้นยังไม่สามารถก้าวไปถึงได้
กูกอลเพลกซ์
[แก้]- ดูบทความหลักที่ กูกอลเพลกซ์
กูกอลเพลกซ์ เป็นจำนวนที่มีเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 เป็นจำนวน 1 กูกอลตัว หรือหมายถึง 10 ยกกำลัง 1 กูกอล
การเปรียบเทียบกับจำนวนมหาศาลอื่นๆ
[แก้]- กูกอลมีค่ามากกว่าจำนวนอนุภาคในเอกภพที่มองเห็น ซึ่งสามารถประมาณค่าได้อยู่ระหว่าง 1079 ถึง 1081[4][5] ถึงแม้การเปรียบเทียบนี้อาจจะมีข้อโต้แย้ง เนื่องจากนักดาราศาสตร์ยังไม่ค้นพบมวลสารทั้งหมดในเอกภพ ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปได้ว่าจำนวนอนุภาคอาจมีมากกว่ากูกอล
- กูกอลน้อย (little googol) มีค่าเท่ากับ 2100 หรือ 1,267,650,600,228,229,401,496,703,205,376 (ประมาณ 1.267×1030) ในขณะที่ กูกอลเพลกซ์น้อย (little googolplex) มีค่าเท่ากับ หรือประมาณ
- เลขอาโวกาโดร เป็นจำนวนมหาศาลที่เป็นที่รู้จักในทางเคมีและฟิสิกส์ มีค่าประมาณ (6.02214179±0.00000030) ×1023 ซึ่งมีค่าน้อยกว่ากูกอลอย่างมาก
- หลุมดำสามารถระเหยหายไปได้ตามทฤษฎีการแผ่รังสีของฮอว์คิง ดังนั้นหลุมดำมหึมาอันหนึ่งๆ อาจต้องใช้เวลาเป็นกูกอลปีจนกว่าจะระเหยหายไปหมด[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bialik, Carl (June 14, 2004). "There Could Be No Google Without Edward Kasner". The Wall Street Journal Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2016. (retrieved March 17, 2015)
- ↑ Koller, David (January 2004). "Origin of the name "Google"". Stanford University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2012. สืบค้นเมื่อ July 4, 2012.
- ↑ Hanley, Rachael. "From Googol to Google: Co-founder returns เก็บถาวร 2006-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." The Stanford Daily. 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546, เรียกดู 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
- ↑ Estimate of the number of particles in the Universe; 1079 up to 1081
- ↑ Another estimate เก็บถาวร 2008-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the number of particles in the Universe; 4x1079
- ↑ On the dark side เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p.4
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอริก ดับเบิลยู. ไวส์สไตน์, "Googol" จากแมทเวิลด์.
- Googol ที่ PlanetMath.
- Padilla, Tony; Symonds, Ria. "Googol and Googolplex". Numberphile. Brady Haran. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-29. สืบค้นเมื่อ 2013-04-06.