ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศนอร์เวย์

พิกัด: 61°N 8°E / 61°N 8°E / 61; 8
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นอร์เวย์)

61°N 8°E / 61°N 8°E / 61; 8

ราชอาณาจักรนอร์เวย์

ภาษาอื่น ๆ
คำขวัญไม่มีa
เพลงชาติ

ที่ตั้งของ ประเทศนอร์เวย์  (เขียว)

ในยุโรป  (เขียวและเทาเข้ม)

ที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และดินแดนโพ้นทะเล: สฟาลบาร์, ยานไมเอน, เกาะบูเว, เกาะปีเตอร์ที่ 1 และควีนม็อดแลนด์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ออสโล
59°56′N 10°41′E / 59.933°N 10.683°E / 59.933; 10.683
ภาษาราชการนอร์เวย์[a]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
(2019)[8][9]
75.6% คริสต์
—68.7% คริสตจักรแห่งนอร์เวย์[d]
—6.9% นิกายอื่น ๆ
20.2% ไม่มีศาสนา
3.4% อิสลาม
0.8% อื่น ๆ
เดมะนิมชาวนอร์เวย์
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5
ยูนัส การ์ สเตอเรอ
Masud Gharahkhani
Toril Marie Øie
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
 L สภาซามี
ประวัติ
ค.ศ. 872
ค.ศ. 1263
ค.ศ. 1397
ค.ศ. 1524
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1814
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814
7 มิถุนายน ค.ศ. 1905
พื้นที่
• รวม
385,207 ตารางกิโลเมตร (148,729 ตารางไมล์)[11] (อันดับที่ 61b)
5.32 (2015)[12]
ประชากร
• 2024 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 5,550,203[13] (อันดับที่ 118)
14.4 ต่อตารางกิโลเมตร (37.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 213)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
350 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 49)
64,856 ดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 6)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
366 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 33)
67,987 ดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 4)
จีนี (2019)Negative increase 25.4[15]
ต่ำ
เอชดีไอ (2022)เพิ่มขึ้น 0.966[16]
สูงมาก · อันดับที่ 2
สกุลเงินโครเนอร์นอร์เวย์ (NOK)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป
ไฟบ้าน230 โวลต์ - 50 เฮิร์ซ
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+47
โดเมนบนสุด.nod
  1. ประเทศนี้ไม่มีคำขัวญอย่างเป็นทางการ แต่จากคำสาบานในสภาร่างรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ประจำปี 1814 สามารถถือเป็นคำขวัญอย่างไม่เป็นทางการที่ใกล้เคียงที่สุด:
    Enige og tro inntil Dovre faller (บูกโมล)
    Einige og tru inntil Dovre fell (นีนอชก์)
    "สามัคคีและภักดีจนกว่าโดฟเรล่มสลาย"
  2. รวมแผ่นดินใหญ่ สฟาลบาร์และยานไมเอน[11] (ถ้าไม่รวมดินแดนพึ่งพิง จะเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 67 โดยมีพื้นที่ 323,802 ตารางกิโลเมตร[17])
  3. จำนวนร้อยละนี้มีพื้นที่แผ่นดินใหญ่ สฟาลบาร์ และยานไมเอน ซึ่งรวมแผ่นน้ำแข็งเป็น"พื้นดิน" ทำให้มีพื้นที่ 19,940.14/(365,246.17+19,940.14).[ต้องการอ้างอิง]
  4. มี 2 รหัสที่ได้จองไว้แต่ไม่ได้ใช้ คือ .sj สำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอน .bv สำหรับเกาะบูแว

นอร์เวย์ (อังกฤษ: Norway; บูกโมลนอร์เวย์: Norge; นีน็อชก์นอร์เวย์: Noreg; ซามีเหนือ: Norga) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (อังกฤษ: Kingdom of Norway; บูกโมลนอร์เวย์: Kongeriket Norge; นีน็อชก์นอร์เวย์: Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง นอร์เวย์มีพื้นที่ทั้งหมด 385,207 ตารางกิโลเมตร (148,729 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงคือกรุงออสโลซึ่งยังเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุด ตามมาด้วยบาร์เกิน, สตาวังเงอร์ และทร็อนไฮม์ นอร์เวย์มีประชากรราว 5.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2024[18] ภาษาราชการคือภาษานอร์เวย์และภาษาซามี โดยได้รับอิทธิพลมาจากการตั้งถิ่นฐานของชาวซามีซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในดินแดนปัจจุบัน

ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนควีนม็อดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัย สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 เป็นกษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน และมี โยนัส การ์ สเตอร์ เป็นนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่ ค.ศ. 2021 นอร์เวย์มีฐานะรัฐอธิปไตยรวมที่มีระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ นอร์เวย์แบ่งอำนาจรัฐผ่านรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลฎีกาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1994 และแบ่งระบบการปกครองออกเป็นสองระดับหลัก ๆ ได้แก่ระดับเทศมณฑลและเทศบาล

ราชอาณาจักรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 872 จากการควบรวมของอาณาจักรย่อยจำนวนมากและดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1,149 ปี นอร์เวย์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ระหว่าง ค.ศ. 1537–1814 และเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดนระหว่าง ค.ศ. 1814–1905 นอร์เวย์วางตัวเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[19] จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 ก่อนจะเข้าร่วมเมื่อถูกรุกรานและครอบครองโดยนาซีเยอรมนีจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[20] นอร์เวย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งของสหประชาชาติ, เนโท, สมาคมการค้าเสรียุโรป, สภายุโรป, สนธิสัญญาแอนตาร์กติก และสภานอร์ดิก และเป็นสมาชิกของเขตเศรษฐกิจยุโรป องค์การการค้าโลก และ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และยังเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เชงเกน นอร์เวย์มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและภาษาที่ใกล้ชิดกับเพื่อนบ้านในสแกนดิเนเวีย โดยภาษานอร์เวย์ยังเข้าใจร่วมกันได้กับภาษาเดนมาร์กและสวีเดนในบางบริบท

นอร์เวย์เป็นประเทศพัฒนาแล้ว[21] เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูง[22][23] โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงเป็นอันดับ 4 และอันดับ 8 ของโลกตามการจัดอันดับโดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศตามลำดับ นอร์เวย์มีกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลพัฒนาประเทศด้วยนโยบายเศรษฐกิจโดยยึดตัวแบบนอร์ดิก เช่นเดียวกับประเทศอื่นในสแกนดิเนเวีย โดยมีระบบสวัสดิการและประกันสังคมที่มีคุณภาพ และให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันของประชากร[24] ประชากรนอร์เวย์ได้รับการจัดอันดับสูงในด้านทักษะภาษาอังกฤษ[25][26] นอร์เวย์มีจุดเด่นในภาคอุตสาหกรรม โดยมีปริมาณสำรองของปิโตรเลียม, แก๊สธรรมชาติ, แร่ธาตุ, ไม้แปรรูป, อาหารทะเล, และน้ำจืดจำนวนมาก[27] อุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นอร์เวย์ยังเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกในบรรดาประเทศนอกตะวันออกกลาง[28] นอร์เวย์ได้รับการจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่สูงที่สุดในโลกตั้งแต่ ค.ศ. 2009 และเป็นประเทศที่มีการขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูงที่สุดใน ค.ศ. 2018[29] และเป็นประเทศอันดับหนึ่งที่มีอัตราความสุขของประชากรสูงสุดใน ค.ศ. 2017 รวมทั้งอันดับหนึ่งในด้านดัชนีความซื่อสัตย์ต่อสาธารณะ, เสรีภาพ และประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการก่ออาชญากรรมที่ต่ำที่สุดในโลก[30]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงภูมิประเทศของนอร์เวย์ในฤดูหนาว
ภูมิประเทศที่ราบลุ่มทั่วไปของนอร์เวย์ใกล้บริเวณ ฟยอร์ด
เกาะขนาดใหญ่บางแห่งตามแนวชายฝั่งทางตอนเหนือของนอร์เวย์

นอร์เวย์ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มีพรมแดนส่วนที่ติดต่อกับสวีเดนและฟินแลนด์ยาว 2,542 กิโลเมตร และพรมแดนสั้น ๆ ติดต่อกับรัสเซียทางทิศตะวันออก ทางทิศตะวันตกและใต้ติดต่อกับทะเลนอร์วีเจียน ทะเลเหนือ และสแกเกอแรก ทางทิศเหนือติดต่อกับทะเลแบเรนตส์ ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม

ภูมิประเทศ[31] : ภูเขาน้ำแข็งปกคลุมมากกว่าครึ่งประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่สูงและภูเขาสูงจะมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปี พื้นที่หลายแห่งมีภูเขาสลับซับซ้อน มีช่องเขาแคบ ๆ สลับที่ราบหลายแห่ง ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่เป็นฟยอร์ดที่มีน้ำลึกแต่นิ่ง เหมาะในการสร้างท่าเรือ

ภูมิอากาศ : ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขาสูงแยกกันโดย หุบเขาที่ อุดมสมบูรณ์ มีที่ราบขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วไป ตามชายฝั่งมีธารน้ำแข็ง (Fjords) จำนวนมาก มีที่ทุ่งหญ้าทุนดราที่ไม่มีต้นไม้ทางทิศเหนือ บริเวณชายฝั่งอากาศเย็นสบาย ด้วยอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Current) พื้นที่ด้านในทวีปมีอากาศเย็นกว่าและมีปริมาณน้ำที่ตกจากฟ้า (ในรูปฝนหรือหิมะ หรืออื่น ๆ) มากกว่า ฤดูร้อนก็มีอากาศเย็นกว่า ฝนตกตลอดทั้งปี ในบริเวณชายฝั่งตะวันตก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่อารยธรรมคอร์ดแวร์.

ยุคสำริด

[แก้]
ศิลปะสกัดหินรูปเรือนอร์ดิกในยุคสำริด
แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์แมนิกในนอร์เวย์ โดย Jordanes.
Sæbø sword จาก Sæbø, Hordaland (800 ปีก่อน ค.ศ.)

ยุคโลหะ

[แก้]

การอพยพย้ายถิ่น

[แก้]

ชาวนอร์เวย์เองก็อพยพไปยังประเทศอื่นเช่นเดียวกัน ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 และในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวนอร์เวย์ประมาณ 800,000 คนอพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเศรษฐกิจของนอร์เวย์ไม่ดีนักและประชากรหางานทำได้ยากมาก หลายคนฝันว่าจะไปเริ่มชีวิตใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะได้ยินว่าที่นั่นมีโอกาสดี ๆ มากมาย หลายคนพบว่าชีวิตในประเทศใหม่นี้มีความยากลำบากในช่วงแรก ในขณะที่คนส่วนใหญ่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ปัจจุบันชาวนอร์เวย์เป็นจำนวนมากทำงานหรือศึกษาในต่างประเทศ คนเหล่านี้ใช้เวลาเรียนรู้วัฒนธรรมอื่น ๆ และเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ชาวนอร์เวย์ที่เป็นผู้ใหญ่ช่วงต้นมักใช้เวลาสองถึงสามเดือนหรือตลอดทั้งปีเดินทางไปรอบโลกเพื่อชมและหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ผู้อพยพชุดล่าสุดของนอร์เวย์คือกลุ่มที่เดินทางไปยังประเทศเขตร้อนและอาศัยอยู่ในระยะเวลาที่ต่างกัน ผู้ชราภาพที่กินบำนาญหลายรายต้องการออกจากพื้นที่เขตหนาวของนอร์เวย์ในช่วงฤดูหนาว หลายคนย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอื่น เช่น สเปน อย่างถาวร ในขณะที่อีกหลายคนอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ในช่วงฤดูหนาวและกลับมานอร์เวย์ในช่วงฤดูร้อน

นอร์เวย์เป็นถิ่นอาศัยของกลุ่มคนที่มีพื้นเพหลากหลายมาเป็นเวลายาวนาน ชาวซามีอาศัยอยู่ทางนอร์เวย์ตอนเหนือมาเป็นเวลาสองพันปี และมีคนเดินทางมายังนอร์เวย์เพื่อมาหางานทำนับเป็นร้อยปีมาแล้ว ผู้ย้ายถิ่นฐานชุดแรกที่เข้ามาทำงานที่นี่มาจากประเทศเพื่อนบ้านและในยุโรปตะวันตก ปัจจุบันประชากรจากกว่า 200 ประเทศอาศัยอยู่ที่นี่

เศรษฐกิจของนอร์เวย์ปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ทำให้มีความต้องการแรงงานและมีคนเป็นจำนวนมากจากหลายประเทศเดินทางเข้ามาเพื่อหางานทำ คนกลุ่มแรกที่เข้ามามาจากยุโรป และนับตั้งแต่ช่วงปี 1970 เป็นต้นมา หลายคนมาจากเอเชีย อาฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้ยังมีชาวปากีสถานและชาวเตอร์กที่เดินทางมาเพื่อทำงานที่นี่ หลายคนยังคงอาศัยอยู่ในนอร์เวย์ในปัจจุบัน ในปี 1975 การย้ายถิ่นฐานถูกชะลอไว้ชั่วคราวเนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและปัญหาด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศ

ปัจจุบันประชากรจากประเทศใน EEA สามารถรับใบอนุญาตผู้พำนักและใบอนุญาตทำงานในนอร์เวย์ได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในสาขางานที่นอร์เวย์ต้องการก็สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้เช่นกัน ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนเดินทางมายังนอร์เวย์จากส่วนต่าง ๆ ของโลก ผู้ที่ลี้ภัยสงครามและกรณีความรุนแรงสามารถยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองในนอร์เวย์ได้

ยุคไวกิง

[แก้]
หมวกเหล็ก ค้นพบที่ Gjermundbu ใกล้เมือง Haugsbygd, Buskerud, เป็นหมวกเหล็กสมัยไวกิงที่มีสภาพสมบูรณ์.
Gokstad ship ที่ พิพิธภัณฑ์เรือไวกิง กรุงออสโล

เราเรียกช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศักราช 800 – 1100 ว่าเป็นยุคไวกิง นอร์เวย์ไม่ได้เป็นประเทศที่เป็นรัฐเดียว แต่เป้นราชอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักร ฮาร์รรัลด์ แฟร์แฮร์ (Harald Hårfagre) เป็นพระราชาของดินแดนที่ใหญ่ในปี 872 ชาวไวกิงเดินทางไปหลายประเทศ และชาวไวกิงบางส่วนคือ พ่อค้า จากการซื้อและขายของต่าง ๆ

ชาวเหนือที่อาศัยในแถบสแกนดิเนเวีย มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย จึงหันมายึดอาชีพการประมง และพัฒนาการต่อเรือเดินทะเล ซึ่งต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกทะเลเพื่อค้าขายแต่พวกนี้ชอบทำตัวเป็นโจรสลัด เที่ยวรุกรานใครต่อใคร ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เรียกชาวเหนือพวกนี้ว่า "Viking" (ชาวนอร์เวย์ออกเสียงว่า วีคิง) เรือเดินทะเลดั้งเดิม ซึ่งมีความยาว 22 เมตร กลางลำกว้าง 5 เมตร ลึก 1.5 เมตร มีฝีพาย 30-32 คน ตรงกลางมีเสากระโดงสำหรับติดเรือใบ ท้องเรือแบนเหมาะแก่การโต้คลื่น หัวงอน ท้ายงอน ช่วยให้ปราดเปรียว โดยเฉพาะหัวเรือนั้น ทำเป็นหัวงู เนื่องจากมีความเชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้จะช่วยขจัดความชั่วร้าย

จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบที่ทำเป็นลำเรือนั้นคือไม้โอ๊ก ซึ่งตีประกบกันเป็นเกล็ด แล้วเคลือบด้วยน้ำมันเหนียว ๆ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าเรือไม้อื่น ๆ ส่วนหางเสือนั้นทำเป็นแบบถอดได้ ลำเรือมีน้ำหนักเบา พอขึ้นฝั่งก็ถอดหางเรือ เข็นเรือเกยตื้นได้คล่อง ครั้นจะออกทะเลก็เข็นลงน้ำ ติดหางเสือพร้อมกับเร่งฝีพาย ชักใบเรือขึ้นเสากระโดง มีเรือไวกิงตั้งแสดงไว้ 3 ลำ แต่ละลำมีอายุราว ๆ 1,000 ปี ดูเหมือนกว่าลำที่ขุดพบแรกสุดเมื่อร้อยปีเศษมานี้ แม้จะผุพังไปมาก

แต่เขาได้ใช้ความพยายามเอาชิ้นส่วนที่ยังใช้ได้มาประกอบรวมกับของใหม่ ซึ่งของเดิมนั้นจะมีสีคล้ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนช่วงหลังของอาคาร ใช้เป็นที่แสดงสิ่งของที่ขุดพบในซากเรือและในจำนวนเรือไวกิงหรือเรือเดินทะเลทั้ง 3 ลำนี้ มีเพียงลำเดียวที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากจมอยู่ในโคลน อีกทั้งได้พบหลักฐานว่าไม่เคยออกทะเล แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของหญิงสูงศักดิ์ชาวไวกิง 2 คน พร้อมกับสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตายให้เอาไปใช้ในภพหน้า และมีอยู่ลำหนึ่งเสียหายมาก เพราะโดนแทร็กเตอร์ของคนงานก่อสร้างโดยบังเอิญ ส่วนแพ Kon-Tiki ได้ตั้งแสดงไว้อีกพิพิธภัณฑ์ ในที่นั้นยังมีเรือฟาง Ra II อีกลำ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้พิสูจน์ความจริงบางประการเมื่อไม่นานมานี้

สหภาพคาลมาร์

[แก้]
แผนที่แสดงอาณาเขตของนอร์เวย์ ค.ศ. 1265

เดนมาร์ก-นอร์เวย์

[แก้]
Battle of the Sound ระหว่างกองเรือฝ่ายสัมพันธมิตร ดาโน-นอร์เวย์–ดัตช์ และ สวีเดน, 29 ตุลาคม 1658.

ระหว่างศตวรรษที่ 14 เดนมาร์กมีอิทธิพลเหนือนอร์เวย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน ค.ศ. 1397 นอร์เวย์อยู่ในสหภาพเดียวกับเดนมาร์กและสวีเดนอย่างเป็นทางการ สหภาพถูกปกครองโดยกษัตริย์ร่วมกัน สวีเดนค่อย ๆ ถอนตัวออกมาจากสหภาพนี้ แต่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยังคงรวมกันจนกระทั่งค.ศ. 1814

สหภาพถูกปกครองจากเดนมาร์ก โคเปนเฮเกนเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของสหภาพและชาวนอร์เวย์อ่านและเขียนเป็นภาษาเดนมาร์ก เกษตกรชาวนอร์เวย์จ่ายภาษีให้กับกษัตริย์ในโคเปนเฮเกน

สหราชอาณาจักร

[แก้]
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1814 วาดโดย Oscar Wergeland

การประกาศเอกราช

[แก้]

สหภาพกับสวีเดนล่มสลายใน ค.ศ. 1905 มีความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเวลาหลายปีระหว่างรัฐสภาของนอร์เวย์กับกษัตริย์ในประเทศสวีเดน และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีความเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ว่านอร์เวย์ควรเป็นประเทศเอกราชและมีเสรีภาพ

วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป และสหภาพกับสวีเดนก็ล่มสลายตามมา ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กถูกเลือกให้เป็นกษัตริย์คนใหม่ของนอร์เวย์ เขามีชื่อทางราชวงศ์ของนอร์เวย์ว่า ฮากอน กษัตริย์ฮากอนเป็นกษัตริย์องค์ที่ 7 ของนอร์เวย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1905 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1957

สงครามโลก

[แก้]
ส่วนหนึ่งของNorwegian Campaign ค.ศ. 1940

นอร์เวย์ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง 1945 และถูกทำลายในช่วงสงครามไปมาก อาคารบ้านเรือน โรงงานและเมืองต่าง ๆ ถูกทิ้งระเบิดและเผาทำลาย สินค้าส่วนใหญ่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการและประชาชนต้องประสบกับความยากลำบาก

สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นในเดือนกันยายนปี 1939 เมื่อครั้งที่โปแลนด์ถูกรุกรานโดยทหารเยอรมัน ทหารเยอรมันรุกรานนอร์เวย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 มีการต่อสู้ช่วงสั้น ๆ เกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่วันเยอรมันก็สามารถควบคุมนอร์เวย์ได้ทั้งหมด กษัตริย์และเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างหลบหนีไปที่ลอนดอนประเทศอังกฤษและดำเนินการต่อต้านจากที่นั่น

ระหว่างสงครามช่วงสองสามวันแรก ยังไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้นมากนักในนอร์เวย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกพวกนาซีควบคุม โดยรัฐบาลใหม่ที่เข้าพวกกับนาซีได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อบริหารประเทศแทน รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ถูกเลือกขึ้นตามระบอบประชาธิปไตย

ชาวนอร์เวย์หลายคนประกอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมายระหว่างช่วงสงคราม มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างไม่มีการปิดกั้น ทั้งทางหนังสือพิมพ์และใบปลิว และมีอีกหลายคนที่ช่วยคนให้หลบหนีจากพวกนาซีไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวีเดนและอังกฤษ หลายคนถูกจับกุมและขังไว้ในค่ายกักกัน

แม้ว่าประเทศจะถูกยึดครอง แต่คนส่วนใหญ่ยังไปทำงานตามปกติและเด็ก ๆ ก็ยังคงไปเรียนหนังสือได้ตามเดิม อย่างไรก็ตาม อาหาร เสื้อผ้าและปัจจัยอื่น ๆ ถูกแบ่งสรรจากฝ่ายควบคุม ทำให้หลายคนเกิดความไม่แน่ใจในอนาคต

นอร์เวย์มีเรือพาณิชย์ก่อนช่วงสงครามเป็นจำนวนมาก ระหว่างช่วงสงครามปี 1940-1945 เรือหลายลำในจำนวนนี้ส่งสินค้าไปยังประเทศที่ทำสงครามกับเยอรมัน โดยรัฐบาลนอร์เวย์ในลอนดอนเป็นผู้เตรียมการขนส่งเหล่านี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของกองเรือถูกทิ้งตอร์ปิโดหรือถล่มด้วยระเบิด ลูกเรือชาวนอร์เวย์เกือบ 4,000 คนต้องเสียชีวิตระหว่างสงคราม

ชายและหญิงชาวนอร์เวย์ประมาณ 10,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากสงคราม ประมาณ 700 คนจากนี้เป็นชาวยิวที่ถูกส่งไปยังค่ายกักกันส่วนกลางในเยอรมันและโปแลนด์

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 เยอรมันยอมจำนน นอร์เวย์จึงเป็นประเทศเอกราชอีกครั้ง ชาวนอร์เวย์ประมาณ 50,000 คนต้องข้อหากบฏหลังจากสงครามสิ้นสุด คนเหล่านี้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมแห่งชาตินอร์เวย์ Nasjonal Samling ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝักใฝ่กับพวกนาซี โดย25 คนถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏหลังสงคราม

ยุคฟื้นฟูประเทศ

[แก้]

หลังปี 1945 ประเทศได้เริ่มบูรณะตัวเองใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ตื่นตัวมาก ทั้งการผลิตและการส่งออกอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น กองเรือพาณิชย์เองก็ถูกบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง

หลายคนสามารถหางานทำได้ และแม้ว่าค่าแรงจะไม่สูงมากนัก แต่ปัญหาความยากจนก็ลดลงไปได้บ้าง คนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีและหลายคนคาดหวังที่จะมีส่วนร่วมในการบูรณะประเทศนอร์เวย์ขึ้นอีกครั้ง ความเท่าเทียมกัน และคุณค่าที่เท่ากันกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับคนส่วนใหญ่ เศรษฐกิจของนอร์เวย์ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังคงต้องแบ่งสรรสินค้าใช้อยู่จนช่วงปลายทศวรรษที่ 1950

ระหว่างช่วงทศวรรษหลังสงคราม มีการปฏิรูปมากมายเกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทุกคน ชั่วโมงการทำงานถูกกำหนดให้สั้นลง และวันหยุดยาวนานขึ้น ในปี 1967 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายหลักประกันแห่งชาติ กฎหมายนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจให้กับประชากรทุกคน รวมทั้งคนชราและคนป่วย

การเมืองการปกครอง

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 พระประมุขของราชอาณาจักรนอร์เวย์
เจ้าชายโฮกุน องค์รัชทายาทแห่งนอร์เวย์

นอร์เวย์มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐของนอร์เวย์คือพระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 และองค์รัชทายาทคือ เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ บทบาทของกษัตริย์ในปัจจุบัน จำกัดอยู่เพียงด้านพิธีการและสัญลักษณ์

บริหาร

[แก้]

ประมุขของรัฐคือ พระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล พระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตำแหน่งประมุขของรัฐสืบทอดโดยการสืบสันตติวงศ์ ตามด้วยการเลือกตั้งรัฐสภา โดยทั่วไปผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือผู้นำคณะรัฐบาลผสมจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี

นิติบัญญัติ

[แก้]

สภานิติบัญญัติของนอร์เวย์ (Storting) มีลักษณะเป็นรัฐสภาเดี่ยวที่ได้มีการปรับให้เหมาะกับประเทศ (modified unicameral parliament) สมาชิกจำนวน 169 ที่น่ง ได้รับการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยมแบบสัดส่วน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ตุลาการ

[แก้]

ศาลสูงสุด หรือ Hoyesterett ซึ่งผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่ภูมิรัฐศาสตร์แสดงเขตการปกครองระดับบนสุด (เทศมณฑล) ของนอร์เวย์

ประเทศนอร์เวย์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 เทศมณฑล (fylke) และ 357 เทศบาล (kommune) เทศมณฑลในนอร์เวย์เป็นระดับการปกครองที่อยู่ระหว่างรัฐกับเทศบาล

เทศมณฑลและศูนย์กลางการบริหารทั้ง 15 แห่ง ได้แก่

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

นอร์เวย์มีสถานเอกอัครราชทูตใน 82 ประเทศ[32] และกว่า 60 ประเทศมีสถานทูตอยู่ในนอร์เวย์ ทั้งหมดตั้งอยู่ในกรุงออสโล นอร์เวย์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ (UN) องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท) สภายุโรป และสมาคมการค้าเสรียุโรป นอร์เวย์ได้ออกคำขอเข้าร่วมสหภาพยุโรป (EU) ในขณะที่เดนมาร์ก สวีเดน และฟินแลนด์ได้รับสมาชิกภาพในปัจจุบัน เขตเลือกตั้งของนอร์เวย์ปฏิเสธสนธิสัญญาภาคยานุวัติในการลงประชามติในปี 1972 และ 1994 หลังจากการลงประชามติในปี 1994 นอร์เวย์ยังคงเป็นสมาชิกในเขตเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งเป็นข้อตกลงที่อนุญาตให้ประเทศเข้าถึงตลาดภายในของสหภาพได้ โดยมีเงื่อนไขว่านอร์เวย์จะบังคับใช้กฎหมายของสหภาพซึ่งถือว่ามีความเกี่ยวข้อง นอร์เวย์ยังมีส่วนร่วมนกิจกรรมนานาชาติมากมาย เช่น นโยบายความมั่นคงและการป้องกันร่วมกันของสหภาพ ข้อตกลงเชงเกน และสำนักงานป้องกันยุโรป ตลอดจนโครงการแยกอีก 19 โครงการ นอร์เวย์เข้าร่วมในการเป็นนายหน้าซื้อขายสัญญาออสโลในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นความพยายามที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย

[แก้]

ประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 หลังจากที่นอร์เวย์ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกจากสวีเดนโดยสันติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนอร์เวย์ใกล้ชิดมากขึ้นจากการเสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1907 ซึ่งได้ทรงลงพระนามาภิไธยย่อ “จปร” ไว้บนก้อนหิน ณ บริเวณนอร์ดแคปป์ (Nordkapp) ต่อมา ได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ เพื่อทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อปี 2532

ในปี 2495 ได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตในระดับอัครราชทูต และได้ยกฐานะความสัมพันธ์ขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2503 จากนั้น นอร์เวย์ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำประเทศไทยตลอดมา ส่วนไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เมื่อเดือนสิงหาคม 2530 และต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐลัตเวีย นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุล ณ เมืองเบอร์เกน อีกด้วย

ไทยและนอร์เวย์ได้เฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2548 ในโอกาสดังกล่าว เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าหญิงเมตเต-มาริต พระชายา ได้เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 23 - 26 พฤศจิกายน 2547

นอกจากนี้ นอร์เวย์เคยมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย –- จีน โดยเมื่อต้นปี 2514 นอร์เวย์ได้เริ่มทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดให้ผู้แทนฝ่ายไทยและฝ่ายจีนได้พบปะหารือกัน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2514 โดยนายอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และนายเจียว กง หัว (Chiao Kuan-Hua) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้พบปะหารือกันที่นครนิวยอร์ก อันนำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518

นอร์เวย์ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ไทย เช่น การเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณแนวชายแดน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น และใช้ไทยเป็นจุดประสานงานหลักในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความสัมพันธ์ด้านการค้า

ไทยและนอร์เวย์มีกรอบการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ การเดินเรือ อุตสาหกรรม วิชาการและการค้า ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งได้มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง ระหว่างปี 2529 - 2542 ไทยและนอร์เวย์ยังได้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบพหุภาคี คือ การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association – EFTA) ซึ่งมีสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยทั้งสองฝ่ายได้เริ่มดำเนินการเจรจาตั้งแต่ปี 2548 และได้หยุดชะงักไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 โดยล่าสุด ที่ประชุมร่วมรัฐสภาไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA แล้ว และจะมีการเจรจารอบแรก ในช่วงต้นปี 2557

ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว

ชาวนอร์เวย์เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ. 2006 มีจำนวน 101,920 คน ปี ค.ศ. 2007 จำนวน 110,076 คน ปี ค.ศ. 2008 จำนวน 127,976 คน และปี ค.ศ. 2009 จำนวน 151,572 คน ซึ่งมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรนอร์เวย์ซึ่งมีจำนวน 4.8 ล้านคน ในขณะที่เมื่อปี ค.ศ. 2009 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวนอร์เวย์จำนวนประมาณ 8,000 คน

แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวนอร์เวย์นิยม คือ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดภูเก็ต ปัจจัยที่ ทำให้ชาวนอร์เวย์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย คือ ความสามารถสนองตอบต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวนอร์เวย์ในการท่องเที่ยวประเภทหาดทราย ชายทะเลของไทย และการที่ไทยมีค่าครองชีพที่ไม่สูง

เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 การบินไทยได้เปิดเส้นทางบินตรงไทย – นอร์เวย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์และนักธุรกิจ ด้วยเครื่องแอร์บัส 340-500 ประกอบด้วยชั้นธุรกิจ 60 ที่นั่ง ชั้นประหยัด 42 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 113 ที่นั่ง โดยในปัจจุบัน บินออกจากนอร์เวย์ทุกวัน ใช้เวลาบินราว 10 ชั่วโมงครึ่ง

กองทัพ

[แก้]
กองทัพนอร์เวย์ท่ามกลางหิมะ

กองทัพนอร์เวย์ปัจจุบันมีประมาณ 23,000 คน รวมทั้งพนักงานพลเรือน ตามที่ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2009) ความพรั่งพร้อมในการเรียกระดมพลเต็มจะอยู่ที่ประมาณ 83,000 คน นอร์เวย์มีการเกณฑ์ทหารสำหรับเพศชาย (6-12 เดือนของการฝึกอบรม) และพลอาสาสมัครสำหรับเพศหญิง[33] กองทัพนอร์เวย์เป็นผู้ใต้บังคับบัญชากระทรวงกลาโหม ทหารของนอร์เวย์จะแบ่งออกเป็นสาขาต่อไปนี้: กองทัพ, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ และ กองอาสารักษาดินแดน

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]
เมืองท่าเบอร์เกน

นอร์เวย์เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทางพื้นดิน ป่าไม้ และทะเลจำนวนมาก โดยมีอุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมผลิตภัณท์ป่าไม้ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ อุตสาหกรรมแร่ธาตุ จำพวกอะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง และอุตสาหกรรมการต่อเรือ และอุปกรณ์ด้านการเดินเรือทะเล นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังมีอุตสาหกรรมการเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทางตอนใต้ของทะเลเหนือ รัฐบาลนอร์เวย์จึงพยายามที่จะดำเนินนโยบายที่จะให้หลักประกันต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

นอร์เวย์เป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งมีนโยบายที่เน้นการนำรายได้ของรัฐมาสนับสนุนภาคบริการเพื่อเป็นหลักประกันทางสังคมแก่ประชาชนในด้านต่างๆ อาทิ การบริการรักษาพยาบาล การศึกษา การจัดระบบบำเหน็จบำนาญ และการดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสังคมนอร์เวย์อีกประการหนึ่ง คือ การเน้นความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ ซึ่งทำให้สตรีชาวนอร์เวย์ได้รับสิทธิในการทำงานและสิทธิทางด้านสังคมอื่น ๆ เช่นเดียวกับบุรุษ

สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ในระดับภูมิภาคยุโรป นอกเหนือจากการส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน แล้ว นอร์เวย์ยังเป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1994

การท่องเที่ยว

[แก้]

ในปี 2008 นอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 17 ในแง่จำนวนนักท่องเที่ยวโดย สภาเศรษฐกิจโลก[34] การท่องเที่ยวในนอร์เวย์มีส่วนกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต 4.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศตามรายงานในปี 2016 ประชากรนอร์เวย์ทุก ๆ หนึ่งในสิบห้าคนทั่วประเทศทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว[35] การท่องเที่ยวเป็นไปตามฤดูกาลในนอร์เวย์ โดยมีนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งที่มาเยือนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม สถานที่ท่องเที่ยวหลักของนอร์เวย์คือภูมิประเทศที่หลากหลายซึ่งทอดยาวไปทั่วอาร์กติกเซอร์เคิล มีชื่อเสียงจากแนวชายฝั่งที่เป็นแนวฟยอร์ดและภูเขา สกีรีสอร์ท ทะเลสาบและป่าไม้ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในนอร์เวย์ ได้แก่ ออสโล โอเลซุนด์ เบอร์เกน บริกเกน สตาวังเงร์ ทรอนด์เฮม คริสเตียนแซนด์ และทรอมโซ ธรรมชาติส่วนใหญ่ของนอร์เวย์ยังคงไม่ถูกทำลาย จึงดึงดูดนักปีนเขาและนักเล่นสกีจำนวนมาก ฟยอร์ด ภูเขา และน้ำตกในนอร์เวย์ตะวันตกและตอนเหนือดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนคนในแต่ละปี

A row of three-storey attached, wooden buildings with pitched roofs located on a broad street. First floor are small shops.
ทัศนียภาพของเมืองท่าบริกเกิน

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การคมนาคม และ โทรคมนาคม

[แก้]

เส้นทางคมนาคม

[แก้]
  • ทางรถไฟ
    รถไฟรูปแบบทันสมัยที่ประเทศนอร์เวย์ ใช้ในการรับส่งระหว่างสนามบิน

เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรต่ำ รูปร่างแคบและชายฝั่งที่ยาว การขนส่งสาธารณะในประเทศนอร์เวย์ได้รับการพัฒนาน้อยกว่าในหลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตนอกเมือง อย่างเช่นมีประเพณีการขนส่งทางน้ำเก่าของนอร์เวย์ แต่กระทรวงคมนาคมนอร์เวย์ในปีที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟ ถนน และทางอากาศดำเนินการผ่านบริษัทย่อยจำนวนมากเพื่อที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ[36] เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการเป็นไปได้ของการสร้างใหม่ระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ[37][38] เครือข่ายรถไฟของนอร์เวย์หลักยาว 4,114 กิโลเมตร (2,556 ไมล์) ของขนาดความกว้างรางรถไฟมาตรฐาน ซึ่ง 242 กิโลเมตร (150 ไมล์) คือรางคู่และ 64 กิโลเมตร (40 ไมล์) เป็นทางรถไฟความเร็วสูง (210 กม. / ชม.) ขณะที่ 62% เป็นไฟฟ้าที่ 15 kV 16 ⅔ AC เฮิร์ตซ์ รถไฟขนส่งผู้โดยสารได้อย่างมากที่สุด 56,827,000 คน และสินค้า 24,783,000 ตัน[39] เครือข่ายทั้งหมดเป็นของการรถไฟบริหารนอร์เวย์แห่งชาติ[40][41] ในขณะที่รถไฟด่วนสนามบินกำลังดำเนินการโดย การรถไฟนอร์เวย์ (NSB) [42][43] และยังมีอีกหลายบริษัทที่ดำเนินการขนส่งสินค้าทางรถไฟ

นอร์เวย์มีท่าอากาศยาน 97 แห่งในนอร์เวย์ มีอยู่เจ็ดสนามบินมีผู้โดยสารมากกว่าหนึ่งล้านคนเป็นประจำทุกปี[44] และยังมีสายการบินท่าอากาศยานหลักของนอร์เวย์คือ ท่าอากาศยานออสโล[45] ซึ่งเป็นท่าหลักของสามสายการบินหลักของนอร์เวย์: สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม[46] นอร์วีเจียนแอร์ชัทเทิล[47] และไวเดอร์โรว

ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ในนอร์เวย์สามารถพบได้ทั่วไปตามโรงพยาบาลและแท่นขุดเจาะน้ำมัน นอร์วิเจียนแอร์แอมบูแลนซ์ บริการพยาบาลทางอากาศมีเฮลิคอปเตอร์สิบสองลำและเครื่องบินเก้าลำ[48]

  • ทางเรือ

สิ่งก่อสร้างชายฝั่งจะถูกดำเนินการโดยกรมบริหารชายฝั่งนอร์เวย์ ในขณะที่ท่าเรือดำเนินการโดยเทศบาล[49][50] นอร์เวย์มีแนวชายฝั่ง 90,000 กิโลเมตร (56,000 ไมล์) เรือสำราญ 400,000 ลำ และเรือพาณิชย์ 715 ลำ

โทรคมนาคม

[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

[แก้]
นีลส์ เฮนริก อาเบล ได้รับการยกย่องให้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสแกนดิเนเวีย

นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ นีลส์ เฮนริก อาเบล และ โซพุส ลี ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดตลอดกาล แคสปาร์ เวสเซล เป็นคนแรกที่อธิบายเรื่องเวกเตอร์และจำนวนเชิงซ้อนในระนาบเชิงซ้อน การวิจัยขั้นสูงของ Ernst S. Selmer นำไปสู่การศึกษาในสมัยใหม่ของอัลกอริทึม ทอรัลฟ์ สโคเล็ม มีส่วนสนับสนุนด้านตรรกะทางคณิตศาสตร์ ออยชไตน์ ออร์ และ Ludwig Sylow มีส่วนสำคัญในการศึกษาทฤษฎีกรุป เอเติล เซลเบิร์ก เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ซึ่งเขาได้รับรางวัลทั้ง Fields Medal และ Abel Prize

นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ได้แก่ นักฟิสิกส์ อีกิดิอุส แอลลิง, อีวาร์ กีเวอร์, คาร์ล อันทวน เบียร์คเนส และ คริสเตียน บีร์เคลันด์ นักอุตุนิยมวิทยา วิลเฮล์ม เบียร์คเนส และ แรกนาร์ ฟเยอร์ตอฟท์ มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การพยากรณ์อากาศด้วยตัวเลข ผู้บุกเบิกเว็บ Håkom Wium Lie ได้พัฒนา Cascading Style Sheets ซึ่งเป็นหนึ่งในการพัฒนา อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล และนำอินเทอร์เน็ตไปยังยุโรป โดยสร้างเครือข่ายแรกนอกสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตของอเมริกา นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ Ole-Johan Dahl และ Kristen Nygaard มีอิทธิพลอย่างมากในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งพวกเขาได้รับรางวัล Turing Award

การศึกษา

[แก้]

การศึกษาระดับอุดมศึกษาในนอร์เวย์เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยเจ็ดแห่ง วิทยาลัยเฉพาะทาง 5 แห่ง วิทยาลัยมหาวิทยาลัย 25 แห่ง และวิทยาลัยเอกชนอีกหลายแห่ง การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามกระบวนการดังต่อไปนี้ ปริญญาตรี (3 ปี), ปริญญาโท (2 ปี) และปริญญาเอก (3 ปี) การศึกษาของรัฐนั้นไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ[51][52] ปีการศึกษามีสองภาคเรียนตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม และตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน ผู้รับผิดชอบด้านการศึกษาคือกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยของนอร์เวย์

สิ่งก่อสร้างใน มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์เวย์

สาธารณสุข

[แก้]

นอร์เวย์ได้รับรางวัลที่หนึ่งตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ (HDI) ประจำปี 2013 ในทางตรงกันข้าม ในช่วงทศวรรษที่ 1800 ความยากจนและโรคติดต่อเป็นปัญหาใหญ่ในนอร์เวย์พร้อมกับความอดอยากและโรคระบาด[53] ตั้งแต่ทศวรรษ 1900 การพัฒนาด้านสาธารณสุขเกิดขึ้นจากการพัฒนาในหลายด้าน เช่น สภาพสังคมและความเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงของโรคและการระบาดทางการแพทย์ การจัดตั้งระบบบริการสุขภาพ และการเน้นเรื่องสาธารณสุข การฉีดวัคซีนและโอกาสในการรักษาที่เพิ่มขึ้นด้วยยาปฏิชีวนะส่งผลให้ประชากรชาวนอร์เวย์ดีขึ้นอย่างมาก สุขอนามัยที่ดีขึ้นและโภชนาการที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้น รูปแบบโรคในนอร์เวย์เปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรังเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ความไม่เท่าเทียมกันและความแตกต่างทางสังคมยังคงมีอยู่ในสาธารณสุขในนอร์เวย์ในปัจจุบัน ในปี 2013 อัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ที่ 2.5 ต่อการเกิด 1,000 คนในเด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบ

รัฐสวัสดิการ

[แก้]

ประชากรศาสตร์

[แก้]
ประชากรนอร์เวย์

จำนวนประชากรนอร์เวย์มีประมาณ 4.9 ล้านคน[54] ส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์เวย์และชาวเยอรมันเหนือ ชาวซามิอาศัยอยู่ในภาคกลางและภาคเหนือของนอร์เวย์และสวีเดน เช่นเดียวกันกับทางตอนเหนือของฟินแลนด์และรัสเซียในคาบสมุทร Kola

การย้ายถิ่นฐาน

[แก้]
เชื้อชาติ ประชากร[55] %
นอร์เวย์ 4,305,886 86.2%
สวีเดน 78,830 1.6%
ขั้วโลก 65,294 1.3%
เดนมาร์ก 53,630 1.0%
เยอรมนี 40,847 0.8%
อังกฤษ 36,312 0.7%
ปากีสถาน 35,722 0.7%

ศาสนา

[แก้]
โบสถ์ของนิกายเชิร์ชออฟในเทศมณฑลเทรินเดอลาก
มัสยิด Bait-un-Nasr ในกรุงออสโล
ศาสนา (2013) [56] จำนวน %
ศาสนาคริสต์ 4,143,687 82.03%
โปรเตสแตนต์
-ลูเทอแรน 3,843,731 76.09%
-โปรเตสแตนต์อีวานเจลิคัล 39,412 0.78%
-พยานพระยะโฮวา 12,049 0.24%
-เมทอดิสต์ 10,715 0.21%
-แบปทิสต์ 10,213 0.20%
โรมันคาทอลิก 121,130 2.4%
ออร์ทอดอกซ์ 12,959 0.26%
คริสต์อื่น 126,307 2.50%
ศาสนาอื่น 150,414 2.98%
ศาสนาอิสลาม 120,882 2.39%
ศาสนาพุทธ 16,001 0.32%
ศาสนาฮินดู 6,797 0.13%
ศาสนาซิกข์ 3,323 0.07%
ศาสนาบาไฮ 1,122 0.02%
ศาสนายูดาห์ 788 0.02%
อื่นๆ 1,501 0.03%
มนุษยนิยม 86,061 1.70%
ไม่มีศาสนาและไม่ทราบ 658,154 13.03%
ทั้งหมด 5,051,275 100.0%

ภาษา

[แก้]
เขตของภาษาถิ่นในนอร์เวย์: นอร์เวย์เหนือ (เหลือง), นอร์เวย์กลาง (น้ำเงิน), นอร์เวย์ตะวันตก (ส้ม) และ นอร์เวย์ตะวันออก (ฟ้า)

ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานีน็อชก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") ภาษานอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 108 ผู้พูด 4.7 ล้านคน ตระกูลภาษามาจากสแกนดิเนเวียตะวันออกและตะวันตก

แต่คนนอร์เวย์ส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาบุ๊กมอลมากกว่า ทั้งหนังสือพิมพ์หรือรายการทีวีต่าง ๆ นอกจากนี้เด็ก ๆ ทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษด้วย ปัจจุบันคนนอร์เวย์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้[57][58][59][60]

วัฒนธรรม

[แก้]

วรรณกรรม

[แก้]

ราวกลางศตวรรษที่ 19 การเคลื่อนไหวในศิลปะและวัฒนธรรมเริ่มปรากฏออกมาให้เห็น ซึ่งเราเรียกว่า จิตนิยมของชาติ ส่วนสำคัญของการเคลื่นไหวคือการเน้นที่ลักษณะของประเทศรวมถึงการขยายและการเสริมแต่ง ในนอร์เวย์ มุ่งเน้นเบื้องต้นในเรื่องความสวยงามของประเทศตามธรรมชาติ ชุมชนเกษตรกรรมถูกมองว่าเป็น “ชาวนอร์เวย์ที่เป็นแบบอย่าง”

จิตนิยมของชาติแสดงออกในรูปแบบของวรรณกรรม ทัศนศิลป์และดนตรี ในระหว่างช่วงเวลานี้ ชาวนอร์เวย์เริ่มพัฒนาความรู้สึกของเอกลักษณ์ของชาติมากขึ้น ความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นชาวนอร์เวย์ที่ถูกพัฒนายอย่างมากมายนี้ส่งผลให้ความปรารถนาอย่างแรงกล้าสำหรับประเทศคือการได้รับเอกราช

หลังจากเริ่มต้นในสหภาพกับเดนมาร์กเป็นเวลาหลายศตวรรษ ภาษเขียนของนอร์เวย์คือภาษาเดนมาร์ก ภาษาเขียนที่เราอ้างถึงในปัจจุบันคือ bokmål เป็นการพัฒนาในอนาคตของภาษานี้ ในระหว่างช่วงเวลาจิตนิยมของชาติ คนจำนวนมากเชื่อว่าชาวนอร์เวย์ควรจะมาภาษาเขียนของตัวเองซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานมาจากภาษาเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลนี้ นักภาษาศาสตร์ชื่อ Ivar Aasen (ค.ศ. 1813 – 1896) เดินทางรอบประเทศเพื่อเก็บตัวอย่างจากภาษาพื้นเมืองหลายหลายภาษา เขาใช้ตัวอย่างเหล่านี้สร้างภาษาเขียนใหม่เรียกว่า nynorsk (ภาษานอร์เวย์ใหม่). ทั้ง nynorsk และ bokmål มีการพัฒนาอย่างมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่นอร์เวย์ก็ยังคงมีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นทางการ 2 สิ่ง นอกเหนือจาก Sami และ Kven (kvensk)

ศิลปะ

[แก้]
ภาพปราสาท Frederiksborg วาดโดย โยฮัน คริสเตียน ดาห์ล

เป็นเวลานานที่งานศิลปะของนอร์เวย์ถูกครอบงำด้วยงานศิลปะจากเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งอิทธิพลของศิลปะเดนมาร์กในโคเปนเฮเกนด้วย ในศตวรรษที่ 19 ยุคศิลปะนอร์เวย์อย่างแท้จริงเริ่มต้นขึ้น โดยเริ่มมีการวาดภาพบุคคล ต่อมาด้วยภาพภูมิทัศน์อันน่าประทับใจ โยฮัน คริสเตียน ดาห์ล (ค.ศ. 1788–1857) มีพื้นเพมาจากโรงเรียนเดรสเดน มีชื่อเสียงในการวาดภาพภูมิทัศน์ของนอร์เวย์ตะวันตก

สถาปัตยกรรม

[แก้]
โบสถ์ไม้สมัยกลางอือเนส ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก

จากการที่มีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ สถาปนิกชาวนอร์เวย์หลายคนนิยมสร้างอาคารบ้านเรือนจากไม้[61][62] และด้วยการที่นอร์เวย์เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์เมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว โบสถ์จึงถูกสร้างขึ้นในหลายร้อยปีที่ผ่านมา[63] เริ่มจากการก่อสร้างมหาวิหารนิดารอสในเมืองทรอนด์เฮม ในยุคกลางตอนต้น มีการสร้างโบสถ์ไม้คานขึ้นทั่วประเทศนอร์เวย์ โบสถ์ Urnes Stave ใน Sognefjord อยู่ในรายการมรดกโลกของยูเนสโก ตัวอย่างที่โดดเด่นอีกประการของสถาปัตยกรรมไม้คืออาคารต่าง ๆ ที่ท่าเรือเบอร์เกน ซึ่งอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างไม้สูงแคบ ๆ เรียงเป็นแถวตามแนวท่าเทียบเรือ

ในศตวรรษที่ 17 ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยของเดนมาร์ก เมืองและหมู่บ้านต่างๆ เช่น Kongsberg และ Røros ได้ก่อตั้งขึ้น เมือง Kongsberg มีโบสถ์ที่สร้างขึ้นในสไตล์บารอก อาคารไม้แบบดั้งเดิมที่สร้างขึ้นในโรรอสยังคงหลงเหลืออยู่ หลังจากที่สหภาพนอร์เวย์กับเดนมาร์กถูกยุบในปี 1814 ออสโลก็กลายเป็นเมืองหลวง สถาปนิกชื่อ Christian H. Grosch เป็นผู้ออกแบบมหาวิทยาลัยออสโล ตลาดหลักทรัพย์ออสโล ตลอดจนอาคารและโบสถ์อื่น ๆ อีกหลายแห่งที่สร้างขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการสร้างชาติ

ดนตรี

[แก้]

อาหาร

[แก้]
Smørbrød แซนวิชนอร์เวย์

อาหารที่จำหน่ายในนอร์เวย์จะต้องเคร่งครัดต่อกฎระเบียบเรื่องสุขลักษณะเป็นอย่างมาก จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค คนนอร์เวย์บริโภคนม ขนมปังสีน้ำตาล และปลา เป็นจำนวนมาก ประเพณีการทำอาหารของนอร์เวย์ แสดงอิทธิพลของประเพณีการเดินเรือและการทำฟาร์มระยะเวลายาวนานกับปลาแซลมอน ปลาคอดแฮร์ริ่ง ปลาเทราท์ และอาหารทะเลอื่น ๆ และจานถ้วยชามนอร์เวย์ดั้งเดิม เช่น lutefisk, smalahove, pinnekjøtt และ fårikål[64]

อาหารประจำชาติของนอร์เวย์ คือ เลฟซ่า ทำมาจากมันฝรั่งต้มบด จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับโรตีแผ่นใหญ่ เวลากินมักจะทาเนยอยู่ด้านบน ไส้กรอกจะห่อด้วยแผ่นโรตี อีกทั้งอาหารส่วนใหญ่ทำมาจากปลา เพราะประเทศนี้หาปลาง่าย

สื่อสารมวลชน

[แก้]

กีฬา

[แก้]

กีฬาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมนอร์เวย์ และกีฬาที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ฟุตบอล แฮนด์บอล ไบแอธลอน สกีครอสคันทรี กระโดดสกี สเก็ตเร็ว และฮ็อกกี้น้ำแข็ง ฮ็อกกี้น้ำแข็งเป็นกีฬาในร่มทีได้รับความนิยมที่สุด แฮนด์บอลหญิงทีมชาติได้รับรางวัลหลายรายการ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนสองครั้ง (2008, 2012), การแข่งขันชิงแชมป์โลกสามครั้ง (1999, 2011, 2015) และการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปหกครั้ง (1998, 2004, 2006, 2008, 2010, 2014)

ในกีฬาฟุตบอล ฟุตบอลหญิงทีมชาตินอร์เวย์ชนะเลิศฟุตบอลโลกในปี 1995[65] และการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกในปี 2000 และชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสองสมัย (1987, 1993) ทีมชาติฟุตบอลชายได้เข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายสามครั้ง (1938, 1994 และ 1998) และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหนึ่งครั้ง (2000) อันดับสูงสุดของฟีฟ่าที่นอร์เวย์ทำได้คืออันดับ 2 ในปี 1993 และ 1995

หมากรุกยังได้รับความนิยมในนอร์เวย์เช่นกัน มังนึส คาลเซิน เป็นแชมป์โลกคนปัจจุบัน[66] มีปรมาจารย์ประมาณ 10 คนและอาจารย์ระดับนานาชาติ 29 คนในนอร์เวย์ที่ได้รับการยกย่อง

วันหยุด

[แก้]

นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีทัศนะในเชิงอนุรักษ์นิยมต่อชีวิตซึ่งเคารพในระบอบราชาธิปไตย วันเกิดของสมาชิกราชวงศ์มีการเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี วันหยุดที่สำคัญในประเทศได้แก่ วันเซนต์ฮันส์ เป็นการเคารพบูชาพลังของธรรมชาติ วันเซนต์มาร์ติน วันหยุดครั้งสุดท้ายก่อนวันคริสต์มาสคาทอลิก เฉลิมฉลองในวันที่ 11 พฤศจิกายน วันฟยอร์ด เป็นวันหยุดทั่วไปที่ประเทศในสแกนดิเนเวียร่วมฉลองด้วยกัน เดนมาร์กเป็นชาติแรกที่เฉลิมฉลองในปี 1991 วันฟยอร์ดมีจุดประสงค์เดียวคือเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาของธรรมชาติ ในระหว่างการเฉลิมฉลองผู้คนสามารถเยี่ยมชมนิทรรศการที่มีเนื้อหาเฉพาะทางธรรมชาติ และมีการชมคอนเสิร์ตและชมภาพยนตร์มากมาย

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เขียนด้วยบูกโมลและนีนอชก์
  2. เหนือ, ลูเล และใต้[1][2]
  3. รวมชนพื้นเมืองซามี และชนกลุ่มน้อยยิว, นักเดินทาง, ชาวฟินในป่า, โรมานี และเคว็น
  4. ศาสนาคริสต์นิกายอีแวนเจลิคัล-ลูเทอแรนเคยเป็นศาสนาสาธารณะของรัฐจนกระทั่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 2012[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Offisiell status for samisk". Language Council of Norway. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021. Samisk har status som minoritetsspråk i Noreg, Sverige og Finland, og i alle tre landa har samisk status som offisielt språk i dei samiske forvaltningsområda. [Sámi is recognised as a minority language in Norway, Sweden and Finland, and is an official language within the Sámi administrative areas in all three countries.]
  2. 2.0 2.1 "Minoritetsspråk". Språkrådet.
  3. "Immigrants and their children as of 1 January 2020". Statistics Norway. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  4. "Immigrants and Norwegian-born to immigrant parents". Statistics Norway. 9 March 2021. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
  5. kirkedepartementet, Fornyings-, administrasjons- og (16 June 2006). "Samer". Regjeringen.no.
  6. inkluderingsdepartementet, Arbeids- og (16 June 2006). "Nasjonale minoriteter". Regjeringen.no.
  7. "The Constitution of Norway, Article 16 (English translation, published by the Norwegian Parliament)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2015.
  8. Church of Norway Statistics Norway 17 May 2020
  9. Members of religious and life stance communities outside the Church of Norway, by religion/life stance. Statistics Norway 8 December 2019
  10. regjeringen.no (5 July 2011). "The Re-establishing of a Norwegian State". Government.no.
  11. 11.0 11.1 "Arealstatistics for Norway 2019". Kartverket, mapping directory for Norway. 20 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
  12. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  13. "Population, 2024-01-01" (ภาษาอังกฤษ). Statistics Norway. 2024-02-21. สืบค้นเมื่อ 2024-02-25.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 "Norway". International Monetary Fund.
  15. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  16. "2022 Human Development Index Ranking" (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 2023-03-13. สืบค้นเมื่อ 2024-03-17.
  17. "Norway". CIA World fact.
  18. "Finn fakta om Norge". Kartverket.no (ภาษานอร์เวย์นีนอสก์).
  19. Tenold, Stig (2019), Tenold, Stig (บ.ก.), "The First World War: The Neutral Ally", Norwegian Shipping in the 20th Century: Norway's Successful Navigation of the World's Most Global Industry, Palgrave Studies in Maritime Economics (ภาษาอังกฤษ), Springer International Publishing, pp. 63–89, doi:10.1007/978-3-319-95639-8_3, ISBN 978-3-319-95639-8, สืบค้นเมื่อ 2021-09-04
  20. "Norway - World War II". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  21. "Developed Countries List". worldpopulationreview.com.
  22. Nikel, David (2020-09-24). "Norway Rich List: Meet the Wealthiest Norwegians in 2020". Life in Norway (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  23. Savage, Maddy. "Unlike most millennials, Norway's are rich". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษ).
  24. https://web.archive.org/web/20170322121226/http://hdr.undp.org/sites/all/themes/hdr_theme/country-notes/ROU.pdf
  25. "How Many People in Norway Speak English? [2023 Data]" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-03-12.
  26. "English Proficiency by Country 2024". worldpopulationreview.com.
  27. "Exports of Norwegian oil and gas". Norwegianpetroleum.no (ภาษาอังกฤษ).
  28. Energy, Ministry of Petroleum and (2018-06-13). "Oil and Gas". Government.no (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  29. "Norwegian Society / Living in Norway / StudyinNorway / Home - Study in Norway". web.archive.org. 2018-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  30. "Norway Crime Rate & Statistics 1990-2021". www.macrotrends.net.
  31. ธงชัย ธนะสิงห์. (2547). ภูมิศาสตร์ยุโรป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  32. "Norges utenriksstasjoner - regjeringen.no". web.archive.org. 2008-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  33. "NDF official numbers". NDF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-12. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.
  34. "World Economic Forum - Latest Press Releases". web.archive.org. 2008-03-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  35. https://web.archive.org/web/20180404073253/http://www.innovasjonnorge.no/contentassets/0d32e3231c0a4367a96838ee3bb5b294/key-figrues-2016.pdf
  36. Norwegian Ministry of Transport and Communication, 2003: 3
  37. Norway. "Majority in Favor of High-Speed Trains". Theforeigner.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  38. "The vast majority said yes (high-speed trains), thanks to lyntog". Translate.google.com. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  39. Norwegian National Rail Administration, 2008: 4
  40. Norwegian National Rail Administration, 2008: 4
  41. Norwegian National Rail Administration. "About". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2008-07-15.
  42. Norwegian National Rail Administration, 2008: 13
  43. Norwegian National Rail Administration, 2008: 16
  44. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
  45. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
  46. "Scandinavian Airlines", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-22, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  47. "Norwegian Air Shuttle", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-24, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  48. "Norwegian Air Ambulance", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-09, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  49. "Norwegian Coastal Administration", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-06-15, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  50. "Startsiden". Kystverket - tar ansvar for sjøveien (ภาษานอร์เวย์).
  51. Corner, Opportunities (2021-07-27). "Study in Norway Free | Study Without IELTS". Opportunities Corners (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  52. "Study in Norway / StudyinNorway / Home - Study in Norway". www.studyinnorway.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  53. "Folkehelse i Norge 1814 - 2014 - Folkehelseinstituttet". archive.ph. 2014-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  54. http://www.ssb.no/english/subjects/02/befolkning_en/
  55. "Statistics Norway – Persons with immigrant background by immigration category and country background". Ssb.no. 2011-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  56. "Church of Norway, 2013. Retrieved 3 July 2014. (ภาษานอร์เวย์)
  57. "Language / Living in Norway / StudyinNorway / Home - Study in Norway". www.studyinnorway.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  58. "Norway: Language - Tripadvisor". www.tripadvisor.com (ภาษาอังกฤษ).
  59. "10 Countries Where You Didn't Know Most People Speak English (Slideshow)". The Daily Meal (ภาษาอังกฤษ). 2016-04-08.
  60. Nikel, David (2018-09-27). "The Languages of Norway". Life in Norway (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  61. Reuben, Jeff (2019-04-17). "A Brief History of Scandinavian Architecture". Scandinavia Standard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  62. https://www.dailyscandinavian.com/experimental-wooden-structures-in-norway/
  63. "Church of Norway". Church of Norway (ภาษานอร์เวย์บุคมอล).
  64. "Culture of Norway – history, people, clothing, traditions, women, beliefs, food, customs, family". Everyculture.com. 2010-09-04. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  65. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  66. Bryne, Lars (2014-11-23). "Carlsen er verdensmester: – Jeg er lykkelig og lettet". NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล).

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Larsen, Karen (1948). A History of Norway. Princeton, New Jersey: Princeton University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Portal:Norway