โรคไข้ริฟต์แวลลีย์
โรคไข้ริฟต์แวลลีย์ | |
---|---|
TEM micrograph of tissue infected with Rift Valley fever virus | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | A92.4 |
ICD-9 | 066.3 |
DiseasesDB | 31094 |
MeSH | D012295 |
โรคไข้ริฟต์แวลลีย์ (อังกฤษ: Rift Valley fever, RVF) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่อาจก่อให้เกิดอาการขั้นปานกลางถึงรุนแรง อาการขั้นปานกลางต่างๆ ได้แก่: เป็นไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ ซึ่งอาจมีอาการนานถึงหนึ่งสัปดาห์ อาการขั้นรุนแรงต่างๆ ได้แก่: สูญเสียความสามารถในการมองเห็นในช่วงสามสัปดาห์แรกหลังจากติดเชื้อ การติดเชื้อที่สมอง ที่อาจก่อให้เกิดการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเกิดอาการสับสน และการมีเลือดออกร่วมกับความผิดปกติของตับ ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายในช่วงวันแรกๆ ผู้ป่วยที่มีเลือดออกมีโอกาสของการเสียชีวิตสูงถึง 50%[1]
สาเหตุ
[แก้]เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไข้ริฟต์แวลลีย์นี้คือเชื้อไวรัส ประเภท Phlebovirus เชื้อโรคนี้แพร่ระบาดโดยการสัมผัสโดนเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อโรคหรือหายใจโดยสูดอากาศที่อยู่รอบๆ สัตว์ที่ติดเชื้อโรคที่กำลังถูกฆ่า การดื่มนมดิบจากสัตว์ที่ติดเชื้อโรค หรือถูกยุงที่ติดเชื้อโรคกัด สัตว์ อาทิเช่น วัว แกะ แพะและอูฐอาจติดเชื้อโรคได้การติดเชื้อโรคในสัตว์เหล่านี้โดยมากมักมียุงเป็นพาหะนำโรค ทั้งนี้ไม่พบว่าโรคนี้ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้โดยการตรวจหา แอนติบอดี ต้านไวรัสนี้หรือตรวจหาเชื้อไวรัสในเลือด [1]
การป้องกันและการรักษา
[แก้]การป้องกันโรคนี้ในคนคือการฉัดวัคซีนต้านเชื้อโรคนี้ให้แก่สัตว์ต่างๆ การฉีดวัคซีนต้องทำก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น เนื่องจากการทำในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดนั้นจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น การหยุดเคลื่อนย้ายสัตว์ในระหว่างการแพร่ระบาดอาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นกัน เนื่องจากเป็นการลดจำนวนของยุงและหลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์ถูกยุงกัด มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้สำหรับคน อย่างไรก็ตาม วัคซีนนั้นไม่เป็นที่แพร่หลายจนกระทั่งถึงปี 2553 อีกทั้งยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ที่ติดเชื้อโรค[1]
ข้อมูลทางระบาดวิทยาและประวัติความเป็นมา
[แก้]การแพร่ระบาด ของโรคนี้เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาและอาระเบียเท่านั้น การแพร่ระบาดมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีฝนชุกกว่าปกติซึ่งทำให้จำนวนของยุงเพิ่มขึ้น[1] ครั้งแรกที่มีการรายงานถึงโรคนี้คือในกลุ่มปศุสัตว์ที่ ริฟต์แวลลีย์ ของ เคนยา เมื่อราวปี 2445[2] และมีการแยกเชื้อของไวรัสนี้เป็นครั้งแรกในปี 2474[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Rift Valley fever". Fact sheet N°207. World Health Organization. May 2010. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
- ↑ Palmer, S. R. (2011). Oxford textbook of zoonoses : biology, clinical practice, and public health control (2nd ed.). Oxford u.a.: Oxford Univ. Press. p. 423. ISBN 9780198570028.